Friday, January 23, 2009

กม.ควบคุมสื่อขัดรัฐธรรมนูญ

อย่างน้อยก็ในรัฐอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา

แม็กซ์อ่านข่าวอันนี้แล้วเกิดความสนใจค่ะ เพราะว่าดูแล้วสถานการณ์มันใกล้เคียงกับประเทศไทยเราอยู่นิดหน่อย (ที่ต้องนิดหน่อย ก็เพราะประเทศเรากะเค้าต่างกันยังกะฟ้ากับเหว โดยเฉพาะในเรื่องความซื่อสัตย์ของตำรวจ) แต่ที่น่าคิดก็คือ ทัศนคติของเขาที่มองคำว่าสื่อลามก

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐอินเดียน่าผ่านกฎหมายซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม 2008 กำหนดให้ผู้ใดที่จำหน่ายสื่อลามกต้องมาลงทะเบียนกับรัฐ และเสียค่าธรรมเนียมก่อนที่จะขายสื่อลามกเหล่านั้นได้ (นี่เป็นการสรุปจากภาษาอังกฤษของแม็กซ์นะคะ ไม่ใช่การแปล ถ้อยคำตามกม.มันเป็นยังงี้

"A Person that intends to offer for sale or sell sexually explicit material shall register with the secretary of state the intent to offer for sale or sell sexually explicit material and provide a statement detailing the types of materials that the person intends to offer for sale or sell."

หลังจากกม.นี้ผ่านการพิจารณา และรอวันบังคับใช้ ร้านหนังสือในรัฐอินเดียน่าที่ขายหนังสือทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ร้านที่มีลักษณะเป็น Adult Shop ก็รู้ว่า ตัวเองกำลังถูกกวาดโดยมาตรการในกม.นี้ พวกเขาเห็นว่า ตัวเองไม่ควรจะต้องถูกรวมอยู่ในคำจำกัดความของกม. ทำให้ร้านหนังสือฟ้องศาล ว่า กม.ที่ผ่านการพิจารณาอันนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญ

โดยถ้อยคำที่เป็นประเด็นถกเถียงกันก็คือคำว่า Sexually explicit material ซึ่งแม็กซ์แปลเองว่าเป็น "สื่อลามก" อันนี้เทียบเคียงกับสถานการณ์ของประเทศไทยค่ะ เพราะเวลาตำรวจต้องการโชว์ผลงาน ก็มันจะบุกจับร้านค้าที่ขายหนังสือ แล้วเรียกนักข่าวมาถ่ายรูป โดยอธิบายว่า เป็นการบุกจับสื่อลามก

สิ่งที่แม็กซ์มีปัญหาเสมอก็คือ อะไรคือสื่อลามก

สำหรับอเมริกา คนของเขาโชคดีกว่าคนไทย ที่มีการตีความอันเป็นที่ยุติแล้วว่า "sexual expression which is indecent but not obscene is protected by the First Amendment" แม็กซ์ไม่คิดว่ารัฐธรรมนูญไทยมีพัฒนาการไปถึงตรงนี้นะคะ

และก็เป็นการตีความอันนี้แหละที่เหล่าร้านหนังสือ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ (เพราะมีรูปนู้ดอยู่ด้วย) รวมตัวกันฟ้องศาล และยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า การเขียนกฎหมายโดยใช้คำว่า สื่อลามก มันกว้างเกินไป

การพิจารณาของศาลมีหลายประเด็นนะคะ แม็กซ์ไม่ได้ยกมาพูดถึงทั้งหมด (เพราะมันยาวมาก ๆ) จะขอยกเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจแล้วกัน

1. คำที่ใช้ในกม.กำกวมจนคนปกติไม่สามารถเข้าใจได้ว่า กม.สั่งห้ามไม่ให้ทำอะไร "fails to define the offense with sufficient definiteness that ordinary people can understand what conduct is prohibited and it fails to establish standards to permit enforcement in a nonarbitrary, nondiscriminatory manner"

2. กม.ตัวนี้มีคำจำกัดความที่กว้างเกินไป จนทำให้ผู้ค้าหลายรายซึ่งไม่ควรถูกรวมอยู่ในคำจำกัดความนี้ ถูกเหมารวมไปด้วย "Clearly, a vast array of merchants and material is implicated by the reach of this statute as written. A romance novel sold at a drugstore, a magazine offering sex advice in a grocery store checkout line, an R-rated DVD sold by a video rental shop, a collection of old Playboy magazines sold by a widow at a garage sale - all incidents of unquestionably lawful, nonobscene, nonprongraphic materials being sold to adult - would appear to necessitate registration under the statute."

สำหรับคนที่แปลภาษาอังกฤษออก โปรดสังเกตด้วยว่า ศาลรวมเอานิยายโรแมนซ์เป็นหนึ่งในของที่ไม่ใช่สื่อลามก (อย่างน้อยก็ตามการตีความของศาลในสหรัฐอเมริกา)

ยกเอาข่าวนี้มาให้อ่านกันเล่น ๆ นะคะ อย่าคิดมาก เพราะอย่างที่พูดไปแล้ว ระบบกฎหมายของไทยต่างจากอเมริกา วิธีการคิด และเขียนกม.ก็ต่างกันเยอะ ไม่ได้บอกนะคะว่าที่ไหนดีกว่า แต่แม็กซ์เชื่อว่า การตีความอย่างชัดเจนจะเป็นทางออกที่ดีของทุกฝ่าย (แต่อาจจะไม่ดีสำหรับตร.ปากกว้างที่อาศัยความกำกวมของกม.ในการงาบคำใหญ่ ๆ)

No comments: